28 พฤษภาคม 2564

วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นายปัญญา ประดิษฐสาร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่และพนักงานจ้างเหมาบริการ ร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณประตูทางเข้าศูนย์ฯ และปลูกต้นทองอุไร จำนวน 150 ต้น ตลอดริมทางขึ้นมาจนถึงบริเวณรอบๆอาคารศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี






>> ขวัญฤทัย ช่วยแก้ว : > ข่าว

>> คำนึง ครุฑกาศ : > ภาพ

เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ปีงบประมาณ 2564 (เวที 3)

วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2564 นายปัญญา ประดิษฐสาร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มอบหมายให้ นางกชกร บุณยสุรักษ์ นะกวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ปีงบประมาณ 2564 (เวที 3) ผ่านระบบ Microsoft Teams โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะเจ้าหน้าที่ให้เป็นนักส่งเสริมการเกษตรที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในครั้งนี้ได้เรียนรู้ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างช่องทางการตลาดของสินค้าเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี ระเบียบงานสารบรรณ และการนำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนางาน ซึ่งมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้เข้าร่วมจำนวน 40 ราย







>> กชกร บุณยสุรักษ์ : นวส.ปฏิบติการ >> ภาพ/ข่าว

27 พฤษภาคม 2564

“10 ผักตัดยอดพื้นบ้าน แต่ประโยชน์ไม่พื้นๆ”by ศสพ.สุราษฎร์ธานี

    


    ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตร กิจกรรมพัฒนาแปลงเรียนรู้ ปี 2564 ได้ทำการรวบรวมพันธุ์ผักตัดยอดหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาแปลงสาธิตและแปลงเรียนรู้เป็นแปลงต้นแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิต การจัดการผลผลิตที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ผลิต ขยายและกระจายพันธุ์พืช โดยได้พัฒนาแปลงรวบรวมพันธุ์ผักตัดยอด เพื่อเป็นแปลงเรียนรู้ผักตัดยอดหลากหลายชนิดทั้งผักตัดยอดจากพื้นถิ่นต่างๆ เช่น ผักเหลียง(ใต้) ผักติ้ว(อีสาน) ผักเชียงดา(เหนือ) และผักตัดยอดชนิดอื่นๆอีกหลายชนิด ผักพื้นบ้านแต่ละชนิดนั้นก็สามารถปลูกและหารับประทานได้ง่าย จึงนิยมนํามาประกอบอาหารทานคู่กับอาหารพื้นถิ่นหลากหลายเมนู นอกจากจะช่วยเสริมรสชาติให้กับอาหารแล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารต่าง ๆ มีทั้งวิตามิน เกลือแร่และแร่ธาตุ รวมถึงมีสรรพคุณเป็นยาที่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของเราสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันไป บางชนิดอาจจะเคยเห็นและรู้จักดีอยู่แล้วแต่บางชนิดก็อาจจะไม่รู้จัก เราจึงจะพามารู้จักหน้าตาและสรรพคุณของผักกินยอดในแปลง 10 ชนิด

1.ใบเหลียง >> มีแคลเซียม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ และหลอดเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยในการแข็งตัวของเลือด และควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด

2.มันปู >>   ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ ใยอาหารบางชนิด ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

3.หมุยหอม  >>  มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี เป็นสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ทำให้ร่างกายแก่ชราช้าลงด้วย 

4.มะม่วงหิมพานต์  >>   มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารชะลอแก่เป็นจำนวนมาก สารนี้สามารถยับยั้งการทำลายเซลล์ของร่างกายทำให้ดูอ่อนกว่าวัยสุขภาพดีแข็งแรง  มีวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน Beta-Carrotene (สารตั้งต้นของวิตามินเอ)และลูทีน Lutin (บำรุงสายตา) ในปริมาณที่สูงกว่าตระกูลเบอร์รี่อีกด้วย

5. ผักกูด >> ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน, แก้พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต, แก้โลหิตจาง, ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน, ขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก, ลดความดันโลหิตสูง, ลดคอเลสเทอรอลในเม็ดเลือด มีสารเบตาแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง

6.จิกนา >> ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย ดอกและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือผักจิ้มกับแจ่ว ลาบ น้ำตก และขนมจีน ให้รสชาติมันปนฝาด ช่วยเพิ่มความอร่อยได้ดีมาก

7. ผักหวานบ้าน  >>  ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และเพิ่มน้ำนมหลังคลอดบุตร ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยระงับอาการปวดเกร็งที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ ถุงน้ำดี และทางเดินปัสสาวะ  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

8. มะกอก  >> ใช้กินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย  แก้หูอักเสบ แก้อาการปวดหู  ช่วยแก้อาการปวดท้อง  ท้องเสีย 

9. ผักติ้ว >>  ช่วยต้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  ป้องกันโรคในหลอดเลือด  ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะช่วยบำรุงตา ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด  แก้ปวดเมื่อยตามข้อ  ช่วยขับลม

10. ผักปลังแดง  >>  ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยดับพิษต่างๆ แก้อาการอาเจียน ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง ช่วยดับพิษต่างๆ ใช้รักษาแผลอักเสบ ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงฟัน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็ง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน


>> ขวัญฤทัย ช่วยแก้ว : นวส.ปฏิบัติการ >> ภาพ/ข่าว

 

 

   

 

เทคนิคการเพาะโตวเหมี่ยว ผักงอกสุขภาพ เพาะง่ายได้ประโยชน์ by ศสพ.สุราษฎร์ธานี



โตวเหมี่ยว หรือถั่วลันเตางอก อร่อยถูกใจแถมได้สุขภาพผักชื่อแปลกประหลาดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้รักสุขภาพ เพราะนอกจากมันจะมีความอร่อยและสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบแล้ว ยังมีประโยชน์มากมายจนหลายคนอาจจะคิดไม่ถึงเลยทีเดียว และผักที่เรากำลังพูดถึงนั่นก็คือ ผักโตวเหมี่ยว คนนิยมค่อนข้างสูง รสชาติหวาน กรอบ ผัดน้ำมันหอย อร่อยมากๆ หรือจะทานสด ลวกกินกับน้ำพริกก็ได้ แต่น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จในการปลูก ต้นอ่อนถั่วลันเตา

ประโยชน์ของ โตวเหมียว (pea sprouts)

โตวเหมียว มีวิตามินบี และวิตามินซีสูง มีธาตุเหล็กที่ร่างกายย่อยได้มากกว่า และมีแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส สูง อุดมด้วยสารอาหาร ช่วยบำรุงสายตา ตับ หัวใจ และจัดว่าเป็นแห่งโปรตีนชั้นดี รวมถึงวิตามินบีและวิตามินซีสูงอีกด้วยแถมยังมีแคลเซียมและสารเลซิตินที่ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ตับ หัวใจ รวมถึงมีกากอาหารซึ่งช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีเนื่องจากโตวเหมี่ยวนั้นมีเส้นใยมาก


คุณประโยชน์หรือโตวเหมี่ยว 100 กรัม

พลังงาน  52 กิโลแคลอรี่

เส้นใย  3.3 กรัม

โปรตีน  4.3 กรัม

ไขมัน  0.1 กรัม

คาร์โบไฮเดรต  8.5 กรัม

แคลเซียม  171 มิลลิกรัม

ไนอาซีน  1.4 มิลลิกรัม

วิตามินบี1  0.11 มิลลิกรัม

วิตามินบี2  0.09 มิลลิกรัม

วิตามินซี  23 มิลลิกรัม

 

วัสดุ/อุปกรณ์
1. ภาชนะการปลูก (ถาด/ตะกร้า)                

2. ดินปลูก/วัสดุปลูก  (ขุยมะพร้าว : ขี้เถ้าแกลบ) 2: 1

3. เมล็ดถั่วลันเตา

 

ขั้นตอน

1.นำเมล็ดโตวเหมี่ยวมาคัดเมล็ดเสีย เมล็ดต่างสี เมล็ดแตก ออก เพื่อลดอาการเน่าในการปลูก

2. นำเมล็ดโตวเหมี่ยวแช่น้ำ 24 ชม

3. เมื่อแช่น้ำครบ 24 ชม.แล้ว เราจะทำการคัดกรองทิ้งเมล็ดที่เสียทิ้งอีกครั้ง

4. นำดินปลูก/วัสดุปลูก ใส่ถาด/ตะกร้า นำโตวเหมี่ยวโรยลงบนดินอย่าให้ทับซ้อนกัน

5.ร่อนดินปลูก/วัสดุปลูก กลบด้านบน รดน้ำพอชุ่ม


เทคนิค  โตวเหมี่ยวเป็นพืชไวต่อแสงในช่วงแรก 7-8 วัน ควรระวังไม่ให้โดนแสง เราจะเปิดให้แสงประมาณวันที่ 8-9 เพื่อให้ต้นอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนและหนวดไม่ยาว สามารถตัดได้ประมาณ 1-2 ครั้ง / การปลูก 1 ครั้ง ** รอบตัดครั้งที่ 2 จะเหมาะกับรับประทานมากกว่านำไปจำหน่าย **4 ชั่วโมงก่อนตัดต้นอ่อนให้ทำการรดน้ำก่อนตัด เพื่อให้ต้นอ่อนสดและแข็งแรง  ราคาขายต้นอ่อน กิโลกรัมละ 200 -250 บาท


>>ขวัญฤทัย ช่วยแก้ว : นวส.ปฏิบัติการ >> ภาพ/ข่าว

ร่วมประชุม"ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)" ผ่านระบบ Zoom Meeting

         วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 น.นายปัญญา ประดิษฐสาร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ร่วมการปรับปรุงแผนปฏิบัติการลงพื้นที่เพื่อประเมินเชิงประจักษ์โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่"ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตอัจฉริยะ(HandySense)" ผ่านทางออนไลน์  ณ ห้องประชุมกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ชั้น 2 อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อหาแนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร กสก. คำสั่งกรมส่งเสริการเกษตร แต่งตั้งคณะทำงานฯ และสรุปผลการประเมินเชิงประจักษ์ 5 จุด ที่ผ่านมารวมทั้งกำหนด แผนปฏิบัติงานการประเมินพื้นที่เชิงประจักษ์แบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน 2564 เพื่อใช้กำหนดแผนการดพเนินงานขั้นต่อไป 






>> ปิยาณี เสนทอง : นวส.ชำนาญการ  >> ภาพ/ข่าว

25 พฤษภาคม 2564

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อประชาสัมพันธ์ฯ

วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2564 นายปัญญา ประดิษฐสาร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นางสาวขวัญฤทัย ช่วยแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อประชาสัมพันธ์ไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ ครั้งที่ 2 ผ่านระบบ Zoom Meeting  เพื่อสร้างการรับรู้ เรียนรู้ การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคการจัดรายกาวิทยุ การสร้างInfo Graphic









>> ขวัญฤทัย ช่วยแก้ว : นวส.ปฏิบัติการ >> ภาพ/ข่าว


12 พฤษภาคม 2564

ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ของศูนย์ฯ

วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 นายปัญญา ประดิษฐสาร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ร่วมประชุมประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ของศูนย์ฯ ตามระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V System) เพื่อติดตามงานดำเนินงานโครงการของปีงบประมาณ 2564 พร้อมทั้งชี้แจง วางแผนแนวทางการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ ของศูนย์ฯในครั้งต่อไป ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี







>> ขวัญฤทัย ช่วยแก้ว นวส.ปฏิบัติการ >> ภาพ/ข่าว

7 พฤษภาคม 2564

ร่วมประชุมโครงการเตรียมความพร้อมทหารกองประจำการสู่การเป็นทายาทเกษตรรุ่นใหม่

ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมทหารกองประจำการสู่การเป็นทายาทเกษตรรุ่นใหม่ ประจำปี 2564 ผ่านระบบแอพพลิเคชั่น ZOOM ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการเกษตร




>> กชกร บุณยสุรักษ์ : นวส.ปฏิบัติการ  >> ภาพ/ข่าว

สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พวงชมพู แก่วิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (ท่าชนะ - ไชยา)

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 นายสิทธิชัย ช่วยสงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายกีรติ เพิ่มชื่น นัก...