วันที่ 28 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่ร่วมประชุมประจำเดือนเมษายน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินงานในไตรมาสที่ผ่านมา มีประเด็นหารือเรื่องการมอบหมายงานตามภารกิจ การพัฒนาแปลงเรียนรู้ การขยายพันธุ์พืชเพื่อการจำหน่าย และการเตรียมการจัดการระบบน้ำช่วงหน้าแล้ง กางวางแผนการใช้น้ำของแปลงเรียนรู้ต่างๆ การวางแผนงานเพื่อให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ในฐานให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงาน เพื่อให้พนักงานจะสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้ และวางแผนการทำงานในเดือนต่อไป
28 เมษายน 2566
ร่วมจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล
วันที่ 28 เมษายน 2566 นางกชกร บุณยสุรักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมด้วยนางสาวเกศราภรณ์ สัมฤทธิ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล
เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนเมษายน 2566
วันที่ 27 เมษายน 2566 นางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนเมษายน 2566 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมดังกล่าว
26 เมษายน 2566
สนับสนุนต้นกล้าผักสลัด พร้อมเอกสารประกอบการเรียนรู้การปลูกผักสลัดในกระถาง สำนักงานเกษตรอำเภอดอนสัก
วันที่ 26 เมษายน 2566 นางสาวขวัญฤทัย ช่วยแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนับสนุนต้นกล้าผักสลัด พร้อมเอกสารประกอบการเรียนรู้การปลูกผักสลัดในกระถาง ให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปใช้ในการอบรมให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ และผลิตผักอินทรีย์เพื่อการบริโภคและจำหน่ายได้
25 เมษายน 2566
รับฟังผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฐานที่ 3 และ 4 ของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร
วันที่ 26 เมษายน 2566 นางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางกชกร บุณยสุรักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ รับฟังผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฐานที่ 3 และ 4 ของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร จำนวน 8 ราย โดยได้ให้คำแนะนำความรู้ทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้ศึกษาต่อไป
สนับสนุนต้นพันธุ์ดาหลา ให้แก่หมู่บ้านสะพานสอง เพื่อใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านต่อไป
วันที่ 26 เมษายน 2566 นายกีรติ เพิ่มชื่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สนับสนุนต้นพันธุ์ดาหลา สายพันธุ์ตรัง และพื้นเมือง ให้แก่หมู่บ้านสะพานสอง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งเตาใหม่ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้ในการปรับปรุงภูมิทัศน์และเพื่อใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านต่อไป
24 เมษายน 2566
ร่วมประชุมคลินิกงานคลัง ครั้งที่ 4/2566 ผ่านระบบ ZOOM Meeting
วันที่ 25 เมษายน 2566 นางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางจินตนา อุดมพิพัฒน์ เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน และ นางสาวอรอุมา เพชรราช พนักงานการเงินและบัญชี ร่วมประชุมคลินิกงานคลัง ครั้งที่ 4/2566 ผ่านระบบ ZOOM Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลัง บัญชี และพัสดุ ประจำเดือนเมษายน พร้อมรับฟังคำแนะนำ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละหน่วยงาน ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
ร่วมประชุมสัมมนาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ R2R ปีที่ 3
วันที่ 25 เมษายน 2566 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมสัมมนาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ R2R เสริมพลัง สร้างสรรค์ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในงานส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 3 จากกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีการแลกเปลี่ยน การทำงานR2R เชิงพื้นที่BCG อย่างเชื่อมโยง ของ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดตรัง
23 เมษายน 2566
เรียนรู้การทำพริกไทยดำ พริกไทยกินดีมีคุณค่าต่อร่างกาย
พริกไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper nigrum
L.
ชื่อวงศ์ Piperaceae
เป็นที่รู้จักกันดีว่า
พริกไทย คือ ราชาแห่งเครื่องเทศ เนื่องจากเป็นพืชเครื่องเทศที่สำคัญและปลูกอย่างแพร่หลายในอินเดีย
รวมไปถึงประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา บราซิล
แม็กซิโก และกัวเตมาลา เป็นต้น
พริกไทยดำเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
เป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้สำหรับกระบวนการผลิตแปรรูปเนื้อสัตว์ ซอส ซุป ผงปรุงรส
และการดอง (Akshay et al., 2018)
พริกไทยเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ
23 - 32 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75-80 ต้องการปริมาณน้ำฝนมากกว่า
3,000 มิลลิเมตรต่อปี และควรมีปริมาณฝนกระจายตลอดทั้งปี ความต้องการแสงเพียงร้อยละ
50 พริกไทยไม่ทนต่อพื้นที่แห้งแล้ง แต่สามารถเจริญเติบโตในดินหลายแบบเช่น
ดินเหนียวไปจนถึงดินทราย ซึ่งควรมีการระบายน้ำที่ดี มีความอินทรียวัตถุที่พอเหมาะ
และค่า pH
5.5-6.5 พริกไทยมีอายุเก็บเกี่ยว 12-15 ปี
จะมีผลผลิตเต็มที่เมื่อปลูกไปแล้ว 3 ปี (Shango et al., 2020)
พันธุ์พริกไทย
1.พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุชชิ่ง
เป็นพันธุ์ที่นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด เนื่องจากให้ผลผลิตสูง
ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 3,600 – 4,800 กิโลกรัมต่อปี(ต้นมีความสมบูรณ์)
มีความต้านทานโรครากเน่าโคนเน่าได้ดี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปลูกกันมากในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง มักแปรรูปทำเป็น “พริกไทยดำ”
(สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี, 2557)
2.พันธุ์ซีลอน
(ยอดขาว) เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศศรีลังกา ความจริงเป็นพริกไทยพันธุ์ Panniyur-1
เป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของอินเดียระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota
กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan มีลักษณะเถาอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะยอดอ่อน
จึงนิยมเรียกว่า “ซีลอนยอดขาว” พริกไทยพันธุ์นี้ผลสดมีลักษณะโตกว่าพันธุ์อื่นๆ
จึงนิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง
(สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี, 2557)
3.พันธุ์ปะเหลียน
เป็นพันธุ์พริกไทยที่มีการปลูกครั้งแรกในท่องทีอำเภอปะเหลียนจังหวัดตรัง
แต่เมื่อมีการขยายพันธุ์นำไปปลูกที่อื่น
จึงเรียกว่าชื่อพันธุ์ตามแหล่งที่ได้มาครั้งแรก คือพันธุ์ปะเหลียน
เป็นพริกไทยพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าได้ดี
และต้านทานการรบกวนของไส้เดือนฝอยได้ดีพิเศษ ซึ่งมีปลูกเฉพาะภาคใต้เท่านั้น
โดยผลผลิตลักษณะผลมีขนาดเล็กจำนวนผลต่อช่อถี่ จึงให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
แต่ถึงอย่างนั้นผลผลิตยังน้อยกว่าพันธุ์ซาราวัค(สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี,
2557)
พันธุ์พริกไทยทั้ง 3 พันธุ์ข้างต้นที่กล่าวมาเป็นพันธุ์ทีมีปลูกในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งสายพันธุ์อื่นที่มีปลูกกันอาจมีมากกว่าสายพันธุ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
20 เมษายน 2566
ถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืช หนึ่งตำบลหนึ่งกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
วันที่ 21 เมษายน 2566 นายกีรติ เพิ่มชื่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายเชาวลิต วงศ์ภักดี พนักงานเกษตรพื้นฐาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืช การตอนกิ่งและการเสียบยอด ณ ที่ทำการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ หมู่ที่ 7 ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประชุมแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
วันที่ 21 เมษายน 2566 นางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมสัมมนา เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ (พื้นที่ภาคใต้) ณ ห้องปะการัง ชั้น 2 โรงแรมมาร์ลิน สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นประธานในการเปิดสัมมนาดังกล่าว
ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายสิทธิชัย ช่วยสงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนักวิชาการส่งเสริมกา...
-
โตวเหมี่ยว หรือถั่วลันเตางอก อร่อยถูกใจแถมได้สุขภาพผักชื่อแปลกประหลาดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้รักสุขภาพ เพราะนอกจากมันจะมีความ...
-
วันศุกร์ ที่ 1 เดือนธันวาคม พ.ศ.2566 นายสิทธิชัย ช่วยสงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ นางสาว...
-
วันที่ 26 เมษายน 2566 นางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจ...